วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

House of Derivatives ตอนที่ 5 Basis คืออะไร


เมื่อไหร่ที่พูดถึง futures แต่ไม่พูดถึง basis ก็คงกระไรอยู่

อธิบายง่ายๆ basis ก็คือค่าที่แสดงมุมมองของตลาด เรากำหนดว่า

basis = S - F

จากตัวอย่างในบทความที่แล้ว SET50 กำลังอยู่ที่ 585 จุด (S = 585) และ SET50 Futures ซื้อขายกันที่ 582 จุด (F = 582) ดังนั้นค่า basis (เบซิส) ก็จะเท่ากับ 3

ในตัวอย่างนี้ค่า basis เป็นบวกแสดงว่าตลาดมองว่าหุ้นน่าจะตก ยิ่งบวกมากก็ยิ่งตกมาก สมมติว่าดัชนีไม่เคลื่อนไปไหนเลย แต่ดันมีข่าวลือในกลุ่มผู้ลงทุน derivatives ทำให้เกิดความกลัวถึงอนาคตของหุ้น ผลก็คือนักลงทุนเหล่านี้จะยอมขาย futures ในราคาที่ลดลง เมื่อค่า S เท่าเดิมแต่ F ลดลง ค่า basis ก็ยิ่งถ่างออกเป็นบวกมากขึ้น ลองย้อนไปมองสมการจะเข้าใจครับ

ตามปกติค่า basis ควรจะค่อยๆ แคบลงเมื่อ futures เข้าใกล้วันหมดอายุ (ผมเคยบอกหรือยังว่า futures เป็นสัญญาที่หมดอายุได้ด้วย?)











จากกราฟนี้ ผมใช้เส้นหนาเป็นดัชนี SET50 ซึ่งมีการเคลื่อนไหวโดยตัวของมันเอง ขณะเดียวกัน SET50 Futures (กราฟเส้นบาง) ก็มีการเคลื่อนไหวล้อไปตามดัชนีไปด้วย สังเกตว่าค่า basis จะห่างอยู่ในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ค่อยๆ ลดลงจนเมื่อถึงวันที่ futures หมดอายุ ทั้ง S และ F จะกลับมาเท่ากันเสมอ เพราะอนาคตกลายเป็นปัจจุบันไปเสียแล้ว
อย่างไรก็ตาม basis เป็นของไม่แน่นอน แม้ S และ F จะต้องกลับมาบรรจบกันก็จริง แต่ระหว่างทางอาจเกิดเรื่องราวอะไรขึ้นก็ได้ หากนักลงทุนเกิดอาการแตกตื่น ช่องว่างที่ว่าก็อาจจะถ่างออกอย่างมากก็เป็นได้
สมมติว่า SET50 ตกทันที 30 จุดภายในวันเดียว มันก็มักจะมีนักลงทุนผู้มองการณ์ไกล(?) ฟันธงทันทีว่าหุ้นจะต้องลงอีกยาว SET50 Futures จึงอาจจะตกถึง 40 จุด ถ่างให้ basis กว้างกว่าเดิมถึง 10 จุดก็ได้
ดังนั้นในการซื้อขาย futures นอกจากจะต้องมองตัวดัชนีแล้ว การผันผวนของค่า basis ก็เป็นอีกตัวหนึ่งที่ไม่สามารถละเลยได้เช่นเดียวกัน

6 ความคิดเห็น:

  1. อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีครับ อิอิ

    ตอบลบ
  2. เริ่มอ่านจากตอนที่ 1 หรือเปล่าครับ เนื้อหาจะปูพื้นมาเรื่อยๆ บางทีก็อิงกับตัวอย่างจากตอนที่แล้วบ้าง สำหรับเรื่อง basis ไม่ยาก เพียงแต่เข้าใจไว้ก่อนว่า

    1. ราคาของ futures กับราคาของหุ้นมันจะไม่เท่ากัน
    2. เมื่อ futures ใกล้หมดอายุ ราคาทั้งสองจะขยับเข้าหากัน จนกระทั่งมาบรรจบ ณ วันสิ้นอายุพอดี

    ถ้ายังไม่เข้าใจไม่เป็นไร ไว้เจอกันจะอธิบายสดเลยครับ

    ตอบลบ
  3. เท่าที่ผมเข้าใจ ค่า basis คือ gap ระหว่าง "ดัชนีจริง" กับ "ค่าฟิวเจอร์ส" ของดัชนีนั้นๆ ถูกต้องมั้ยครับ

    โดยคนที่จะกำหนดค่าของฟิวเจอร์ส ก็คือคนในตลาด เหมือนที่คนในตลาดร่วมกันกำหนดราคาซื้อขายของหุ้นอยู่ทุกๆ วัน ถูกไหมครับ? (ตามหลักของ เบน เกรแฮม คือ Mr.Market เป็นคนกำหนดราคา)

    เพียงแต่การกำหนดค่าฟิวเจอร์ส คือการที่ Mr.Market คาดเดาดัชนีนั้นๆ "ในอนาคต" ต่างกับการตลาดหุ้นธรรมดา ที่ Mr.Market กำหนดราคาเสนอขายของหุ้นนั้นๆ "ณ วันนี้" ถูกต้องมั้ยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ27 กรกฎาคม 2558 เวลา 17:08

      แสดงว่าราคาของ s50 ก็ย่อมขึ้นกับอุปสง อุปทาน ของผู้มาเทรดมากว่า ดัชชี ใช่ไหมครับ แล้วทำไมเวลา s50 ไกล้หมดอายุ s50 จึงวิ่งเข้าหาดัชนีจริง เป็นไปได้ไหม ว่า s50 จะไม่วิ่งเข้าหาดัชนี จริงเรย // s50 คือ ฟิวเจอร์ตัวหนึ่ง

      ลบ
    2. เอาคร่าวๆ ก็คือ SET50 futures เมื่อถึงวันหมดอายุ จะมีการชำระราคาตามตัวดัชนี SET50 ครับ ตัวดัชนีกับตัวฟิวเจอร์สจึงจำเป็นต้องวิ่งเข้าหากัน เพราะแน่นอนว่าจะไม่มีใครยอมซื้อฟิวเจอร์สแพงกว่าดัชนี หรือยอมขายฟิวเจอร์สถูกกว่าดัชนี

      ลบ
  4. เจ๋งเป้งมาก
    ตามที่คุณอาทเขียนมาเลยครับ :)

    ตอบลบ