วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554
House of Derivatives ตอนที่ 15 Spread Trading (3)
ความเดิมเราค้างกันไว้ว่ามีกรณีที่การทำ spread trading ได้กำไรในขณะที่ outright position ไม่ได้กำไร สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อตลาดมีมุมมองที่เปลี่ยนไปครับ
ยกตัวอย่างเช่นในภาวะตลาดขาขึ้นเดิมฟิวเจอร์สซื้อขายกันอยู่ที่ 670 จุด ต่อมาหุ้นยังคงขึ้นต่อเนื่องและลากฟิวเจอร์สไปทำ new high ที่ 700 จุด ครั้นแล้วเกิดมีแรงขาย(จากใครก็ไม่รู้)ทำให้หุ้นกระชากลงมาแรงๆ ภายในวันเดียว ฟิวเจอร์สกลับมาที่จุดเดิมคือ 670 จุด สภาพตลาดโดยรวมเริ่มอกสั่นขวัญแขวน นักลงทุนเริ่มกลัวกันมากขึ้นว่าตลาดจะเปลี่ยนเป็นขาลง
จากสถานการณ์นี้ ในตอนแรกมันเป็น 670 จุดในตลาดขาขึ้น ค่า basis (= S - F) มีค่าเป็นลบ ขณะที่ในตอนหลังเป็น 670 จุดในตลาดขาลง ค่า basis มีค่าเป็นบวก ซึ่งชัดเจนว่าหากเราเทรด spread จะได้กำไร แต่ถ้าเราทำ outright position จะไม่ได้กำไรเลย
ทริกมันเป็นอย่างนี้ครับ หากเราคิดว่าตลาดขาขึ้นกำลังแผ่วลง หรือกำลังจะกลับทิศ หรือไม่มีทาง bullish ไปกว่านี้ได้แล้ว ให้ short ฟิวเจอร์สตัวไกลและ long ฟิวเจอร์สตัวใกล้ เพราะเมื่อตลาดกลับทิศหรือแผ่วลงจริงๆ การลดลงของฟิวเจอร์สตัวไกลมักจะแรงกว่าฟิวเจอร์สตัวใกล้ นี่คือจุดที่เราทำกำไร สำหรับกรณีตลาดขาลงก็ใช้หลักการคล้ายคลึงกัน
สิ่งหนึ่งที่ผมมักเห็นการใช้ spread กันแบบแปลกๆ ได้แก่ การเปิดซีรีส์หนึ่งขึ้นมาก่อน เสร็จแล้วพอถึงจุดที่ควร cut loss หรือ take profit แทนที่จะไปปิดสัญญาตามปกติกลับใช้วิธีเปิดอีกซีรีส์หนึ่งขึ้นมาในทางตรงกันข้าม ตัวอย่างเช่น long ซีรีส์ H ก่อนด้วยหวังว่าหุ้นจะขึ้น ปรากฏว่าหุ้นตก แทนที่จะปิดสัญญาเพื่อรับรู้ขาดทุน กลับถือไปก่อน แล้วก็เลยไป short ซีรีส์ M ด้วยความคิดที่จะเอากำไรจากการ short ขาลง(เผื่อว่ามันจะเปลี่ยนเป็นขาลง)มาหักกับขาดทุน...
ความจริงก็ทำได้ แต่ผมคิดว่านั่นเป็นการเพิ่มความเสี่ยง จริงอยู่ว่าเงินวางประกันลดลงจากการทำ spread แต่ก็ทำให้เราต้องคอยดูแลสัญญาทั้งสองขาแถมยังมีความเสี่ยงที่ค่า basis จะเปลี่ยน (basis risk) เพิ่มเข้ามาโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น