วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
Slippage (2)
ความเดิมจากตอนที่ 1 ผมได้กล่าวถึง slippage ว่าคืออะไร และทำให้กำไรของเราหดหายไปได้อย่างไร คราวนี้ผมจะบอกข้อสังเกตดีๆ เกี่ยวกับมันบ้าง
เรารู้แล้วว่าการได้ซื้อแพงกว่าที่อยากจะซื้อ(หรือขายได้ถูกกว่าที่อยากจะขาย) ทำให้เกิด slippage ขึ้น เชื่อว่าหลายท่านคงจะเริ่มรังเกียจเจ้า slippage นี้บ้างไม่มากก็น้อย แต่ผมอยากให้ข้อสังเกตว่าการเกิด slippage ขึ้นในการซื้อขายหุ้นหรือฟิวเจอร์สนั้นเป็นสัญญาที่ดีประการหนึ่งว่าเรากำลังมาถูกทาง
สมมติว่าตลาดกำลังเป็น sideway คือวิ่งอยู่ในกรอบ ไม่ได้เป็นขาขึ้นหรือขาลงที่ชัดเจน ผมหาแนวรับและแนวต้าน (จะด้วยการใช้กราฟหรือ indicator อะไรก็แล้วแต่) และกำหนดจุด long (ซื้อ) ฟิวเจอร์สไว้ โดยคาดหวังว่ามันจะเด้งขึ้นหากมันลงมาแตะที่แนวรับ
สังเกตว่าผมไม่ได้ซื้อที่แนวรับ แต่จะซื้อเหนือแนวรับเล็กน้อยเพื่อรอการยืนยันว่าราคาจะเด้งขึ้น สมมติว่าแนวรับอยู่ที่ 712.0 จุด ผมอาจตั้งซื้อไว้แพงกว่านั้นเล็กน้อยที่ 712.2 จุด
ปรากฏว่าราคาของฟิวเจอร์สเด้งขึ้นจริงตามที่คาด แต่พอมันแตะแนวรับปุ๊บ มันไปเลย เช่นอาจจะวิ่งไปแถวๆ 712.4/712.5 จุด (bid = 712.4, offer = 712.5) สิ่งที่ผมจำเป็นต้องทำหากคิดว่าแนวรับนี้รับอยู่จริงๆ ก็คือตามไปซื้อที่ราคา 712.5 จุด ซึ่งเท่ากับว่าผมยอมรับ slippage เท่ากับ 712.5 - 712.2 = 0.3 จุด ซึ่งก็น่าจะดีกว่าปล่อยให้โอกาสหลุดลอยไปเพราะ "วิเคราะห์ถูก แต่ไม่ได้ซื้อ"
หากเราวิเคราะห์ดูดีๆ การเกิด slippage ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าตลาดมองเห็นแนวรับเดียวกับเราและเชื่อเหมือนที่เราเชื่อว่าราคาจะต้องขึ้น คำสั่งของเราเลยไม่สามารถจับคู่ได้เพราะผู้ขายมองว่าราคานั้นมันถูกเกินไป (จึงไม่มีใครเสนอขายที่ 712.2 ไง)
Slippage นิดๆ หน่อยๆ จึงน่าจะเป็นสัญญาณที่ดีว่าเราวิเคราะห์มาถูกทางครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
สำหรับเรื่องนนี้ผมเห็นด้วยกับคุณ Antoni มากครับ
ตอบลบมากที่ช้าสักหน่อยอาจดีกว่ามากครับ ดังที่บางคนชอบพูดว่า
"ทิศทางสำคัญกว่าความเร็ว"
สำหรับผมมองว่าหากเป็นการเล่นระยะกลางหรือยาว เป็นเรื่องที่ดีมาก
แต่หากเล่นแบบสั้นแล้วก็น่าเสียดายที่ไม่สามารถทำกำไรได้ครับ
ผมคิดว่าโดยหลักแล้วขึ้นอยู่กับว่าเราวางตัวเองไว้ยังไง ในบางกรณีความเร็วก็สำคัญ(กว่า?) เช่น นักเทรดระยะสั้นมาก ถ้าช้าหุ้นก็ไปแล้ว แต่ถ้าผิดอย่างมากก็ cut loss ครับ
ตอบลบ